ทำความรู้จัก…โซดาไฟ (ของมันต้องมีติดบ้าน!)

ทำความรู้จัก...โซดาไฟ

            สินค้ายอดนิยมอีกชนิดที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าของร้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ได้แก่ “โซดาไฟ” และยังเชื่อว่าหากเอ่ยถึง “โซดาไฟ”น้อยคนมากที่จะไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมีประเภทนี้ เนื่องจากนิยมนำมาใช้ในการล้างท่ออุดตันภายในบ้านกันมากที่สุด ทั้งนี้ โซดาไฟยังสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาภายในครัวเรือนได้อีกหลายอย่าง และยังเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมอีกชนิดที่ขายดีเป็นอันดับต้น ๆ ของร้านวัสดุก่อสร้าง

          เฮียบฮกออนไลน์ขอยกให้ “โซดาไฟ” เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้ และจะพาไปทำความรู้จัก “โซดาไฟ” ในแง่มุมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานในครัวเรือน…ตามไปอ่านกันเลย!

ทำความรู้จัก...โซดาไฟ

โซดาไฟ…คืออะไร

          โซดาไฟ หรือ Caustic Soda (Lye) คือสารประกอบทางเคมีชนิดหนึ่ง (Chemical Compound) ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมีที่มีความเป็นด่าง (Alkali) ซึ่งความเป็นด่างนี้สามารถทำละลายความเป็นกรด และสามารถละลายในน้ำได้เป็นอย่างดี (Soluble in Water) และมีชื่อสูตรทางเคมี “NaOH” (โซเดียมไฮดรอกไซด์)

           โดยทั่วไป โซดาไฟจะมีลักษณะเป็นสารหรือเป็นผงสีขาวเหมือนไข่มุก (White Pearl-Like Substance) จากความก้าวหน้าทางการผลิตของยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถผลิตโซดาไฟได้ในหลายรูปแบบ เช่น แบบเม็ด (Pellets) แบบเกล็ด (Flakes) ผง (Powder) หรือสารละลาย (Solutions) เป็นต้น โซดาไฟยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย (Multipurpose) เช่น การล้างท่อและการทำสบู่ รวมถึงใช้ในการเตรียมอาหารได้อีกด้วย

           นอกจากนี้ โซดาไฟยังเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารเคมีอีกหลายประเภท ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ สิ่งทอ และยา และยังถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการผลิตของหลายอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การปรับค่าความเป็นกรดและด่าง (pH Adjustment) การควบคุมความเป็นด่าง (Alkalinity Control) และกระบวนการสะเทิน (Neutralization Process) หรือการทำให้มีสภาวะเป็นกลาง ทั้งนี้ การเกษตรและการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้โซดาไฟในกระบวนการผลิตเช่นกัน

ความเป็นมาของโซดาไฟ (History of Caustic Soda)  

      โซดาไฟ

            หากพูดถึงความเป็นมาของโซดาไฟ คงต้องย้อนไปตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ (Ancient Times) ในยุคดังกล่าวมนุษย์ทราบถึงอนุภาพและฤทธิ์ของสารความเป็นด่าง (Power of Alkaline Substances) คนอียิปต์และโรมันโบราณจะใช้สารความเป็นด่างที่ได้จากขี้เถ้าและขี้เถ้าพืช (Ashes and Plant Ashes) ด้วยการผสมขี้เถ้าดังกล่าวกับน้ำและทำให้ร้อนในหลายกิจกรรม เช่น การทำสบู่ สิ่งทอ กำจัดขน และการนำไปใช้ทางยา (Medicinal Applications) เป็นต้น

          ในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงยกระดับโซดาไฟให้สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ ในปี 1775 นักเคมีชาวสวีเดนชื่อว่า “Carl Wilhelm Scheele” ค้นพบองค์ประกอบคลอไลน์และคิดได้ว่าหากนำมาผสมกับสารความเป็นด่าง จะให้ผลลัพธ์เป็นโซดา แอช (Soda Ash) หรือ โซเดียมคาร์บอเนต (Sodium Carbonate) แนวคิดดังกล่าวทำให้สามารถผลิตโซดาไฟในปริมาณมากได้

          อย่างไรก็ดี ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะของโซดาไฟและคุณสมบัติทางเคมีเกิดขึ้นเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 และในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้ความก้าวหน้าทางการผลิตและกระบวนการทางเคมีปรากฏขึ้น และ ความต้องการโซดาไฟเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วโลก เนื่องจากความสามารถในการนำไปใช้งานของโซดาไฟหลากหลายมากขึ้น จนกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตสบู่ (Soap Making) สิ่งทอ (Textile Production) และกระดาษ (Paper Production) รวมถึงวงการศึกษาในสาขาวิชาโลหะวิทยา (Metallurgy)

           ในปี 1823 นักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า “Antoine-Alexandre-Brutus Bussy” พัฒนาวิธีผลิตโซดาไฟที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ด้วยการใช้โซเดียมคลอไรด์ (Sodium Chloride หมายถึง เกลือแกงทั่วไป) กับกรดซัลฟูริก (Sulfuric Acid หรือกรดกำมะถัน) ซึ่งนำไปสู่อัตราการผลิตโซดาไฟที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมากมายกว่าที่ผ่านมา

          ในช่วงแรกเริ่มของศตวรรษที่ 20 ถือเป็นช่วงพัฒนาที่สำคัญของโซดาไฟ เนื่องจากมีการคิดค้นเทคนิคการผลิตโซดาไฟใหม่ขึ้น โดย “Humphry Davy” ในปี 1808 ที่เรียกว่ากระบวนการ Electrolytic Process ซึ่งเทคนิคดังกล่าว คือ กระบวนการที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการแยกโมเลกุล และกลายเป็นวิธีหลักที่ใช้ในการผลิตโซดาไฟในปัจจุบัน

      การนำโซดาไฟไปใช้งานในครัวเรือน (Using Caustic Soda Around Your House!)

          โซดาไฟเป็นผลิตภัณฑ์ทางเคมีอีกชนิดที่ควรมีติดบ้าน เพราะตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ผู้คนมักประสบบ่อย ๆ ทั้งนี้ โซดาไฟยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกสำหรับใช้ในครัวเรือน ดังต่อไปนี้

ทำความรู้จัก...โซดาไฟ

  1. ล้างท่ออุดตัน (Unblocking Pipelines or Drains) เชื่อแน่ว่าหลายบ้านต้องเคยเจอกับปัญหาท่ออุดตัน ไม่ว่าจะเป็นท่ออ่างล้างหน้า ท่อล้างจาน หรือท่อน้ำอื่น ๆ ในบ้าน ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่คลาสสิกมาก เกิดจากการสะสมของไขมัน เส้นผม และคราบสิ่งสกปรกที่อุดตันในท่อน้ำ ซึ่งโซดาไฟสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ วิธีการ คือ ให้ผสมโซดาไฟ 100 กรัมกับน้ำเย็น (จะกลายเป็นสารละลาย) แล้วเทลงในท่ออุดตัน และปล่อยทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมงเพื่อสลายสิ่งอุดตันต่าง ๆ ที่อยู่ในท่อ
  2. ทำความสะอาดไมโครเวฟ (Cleaning Microwaves) ในยุคปัจจุบันหลายบ้านนิยมใช้ไมโครเวฟกันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบายในการอุ่นอาหาร หรือไมโครเวฟบางรุ่นสามารถทำอาหารได้ หากใช้งานไมโครเวฟไประยะหนึ่งจะพบว่าข้างในเครื่องมีรอยสีน้ำตาลหรือคราบจากการอุ่นอาหารติดอยู่ การทำความสะอาดไมโครเวฟสามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่เบาแรงและไม่ยุ่งยากแถมได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที คือ การผสมโซดาไฟ 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 1 แก้ว และน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะในภาชนะที่สามารถใช้อุ่นในเตาไมโครเวฟได้ แล้วนำภาชนะที่มีส่วนผสมของโซดาไฟ น้ำส้มสายชูและน้ำเข้าเครื่องไมโครเวฟ ตั้งเวลาอุ่นประมาณ 1 นาที และเมื่อส่วนผสมร้อนแล้ว ให้พักทิ้งไว้อีก 5 นาที หลังจากนั้นจึงทำความสะอาดไมโครเวฟได้
  3. การเตรียมอาหาร (Food Preparation) สามารถใช้โซดาไฟในการล้างหรือทำความสะอาด รวมไปถึงขจัดสารเคมีตกค้างที่อยู่ตามผักและผลไม้ สามารถนำไปใช้ในการแปรรูปช็อกโกแลตและโกโก้ ใช้ในการผลิตสีอาหารคาราเมล ใช้ในการลวกสัตว์ปีกให้สะอาดขึ้น (เช่น ไก่และเป็ด) ใช้ในการผลิตน้ำอัดลม และสามารถทำให้ไอศกรีมจับตัวแข็ง หากต้องการให้มะกอกนิ่มขึ้นให้แช่ลงให้น้ำที่มีส่วนผสมของโซดาไฟ และหากต้องการให้ขนมปังมีความกรุบกรอบและสีสวย เช่น ขนมปัง Pretzel และ German Pretzel จะเคลือบขนมปังด้วยสารละลายด่างหรือโซดาไฟในน้ำเดือดก่อนนำไปอบ (Baking Soda สามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน แต่จะไม่ได้สีเหลืองทองเข้มและกรุบกรอบเหมือนกับโซดาไฟ)
  4. ทำความสะอาดทางเข้าบ้าน (Cleaning Driveways) บ้านที่เราอาศัยอยู่ไปสักพักจะดูหมองลง เนื่องจากมีสิ่งสกปรกหรือคราบสกปรกเกาะตามพื้นถนนบ้าน ซึ่งทำให้บริเวณบ้านดูไม่สะอาดตามากนัก สามารถใช้โซดาไฟทำความสะอาดพื้นถนนรอบ ๆ หรือทางเดินเข้าบ้านได้ ซึ่งทำได้ไม่ยาก วิธีการ คือ ใช้โซดาไฟ 125 กรัมผสมกับน้ำ 5 ลิตร หลังจากนั้น ให้นำสารละลายโซดาไฟไปเทลงบนพื้นผิวถนนบ้านและใช้แปรงขัดถูพื้นขัดถนน (ต้องใช้แปรงสำหรับขัดถูพื้นเท่านั้น) ปล่อยทิ้งไว้ 20 – 30 นาทีเพื่อให้สารละลายโซดาไฟเกาะอยู่บนพื้นผิวถนน แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำเย็นให้สะอาด เพียงเท่านี้ถนนบริเวณรอบ ๆ บ้านก็จะขาวสะอาดเหมือนกับย้ายเข้าอยู่ในช่วงแรก
  5. ฆ่าเชื้อโรคบริเวณบ้าน (Disinfecting Areas of the House) แน่นอนว่าบ้านที่เราอาศัยอยู่จะต้องมีเชื้อโรคอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด-19 สามารถใช้โซดาไฟในการฆ่าเชื้อโรคบริเวณบ้านได้เป็นอย่างดี วิธีการ คือ ให้ผสมน้ำกับโซดาในปริมาณเท่ากัน และคนให้ละลาย หรือผสมโซดาไฟ 125 กรัมกับน้ำเย็น 5 ลิตรในถังผสม หลังจากนั้นจึงนำไปใช้งานกับบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อโรคได้เลย และใช้น้ำเย็นล้างทำความสะอาดบริเวณที่มีการใช้สารลายลายโซดาไฟ (ต้องใช้น้ำเย็นเท่านั้น)
  6. ลอกสีฝาผนังหรือกำแพงบ้าน (Stripping Paint from Walls) สามารถใช้โซดาไฟในการลอกสีที่ฝาผนังหรือกำแพงบ้านออกได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบไม่น่าเชื่อ และมีความปลอดภัยสูง ต้องแน่ใจว่าบริเวณฝาหรือกำแพงที่ต้องการลอกหรือลบสีออกมีลมโกรกหรือไหลเวียน วิธีการลอกสีออกจากฝาผนังหรือกำแพงบ้าน ให้ใช้ผ้าเก่าชุบน้ำให้เปียก และเช็ดถูบริเวณฝาผนังหรือกำแพงบ้านบริเวณสีที่ต้องการลบหรือลอกออก โรยโซดาไฟลงบนบริเวณสีที่ได้มีการถูด้วยผ้าชุบน้ำ ปล่อยให้โซดาไฟทำปฏิกิริยากับคราบหรือสีประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดบริเวณฝาผนังหรือกำแพงบ้านบริเวณสีที่ต้องการลบหรือลอกออก เพียงเท่านี้ก็สามารถลบสีที่ติดอยู่ฝาหรือกำแพงบ้านได้แล้ว

ข้อควรระวังการเก็บรักษาและใช้โซดาไฟให้ปลอดภัย (Safety Tips of Keeping and Using Caustic Soda)

            เนื่องจากโซดาไฟเป็นสารประกอบเคมีอีกประเภทหนึ่ง หากเก็บรักษาหรือใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องใช้งานโซดาไฟต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน โดยมีข้อควรระวังและการเก็บรักษา ดังนี้

  1. โซดาไฟมีอายุการเก็บรักษาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี หลังจาก 1 ปีผ่านไปคุณสมบัติของโซดาไฟจะไม่เหมือนเดิม
  2. ให้เก็บโซดาไฟในภาชนะเย็นและในที่มืด ปิดฝาภาชนะที่ใส่โซดาไฟให้สนิทและแน่นหนาเพื่อป้องกันความชื้นโดนโซดาไฟ (Moisture) เนื่องจากโซดาไฟมีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้น และเมื่อโดนความชื้นจะทำให้โซดาไฟเกิดไอน้ำขึ้นได้ (Water Vapor) รวมถึงคุณสมบัติกัดกร่อน (Corrosive Properties)
  3. ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน หากต้องใช้งานโซดาไฟ เช่น หน้ากากที่สามารถป้องกันระบบหายใจได้ แว่นตาใส และถุงมือยางที่มีความทนทาน
  4. หากผิวหนังสัมผัสกับโซดาไฟ ให้ล้างออกด้วยน้ำส้มสายชูในอัตราส่วน 1 ต่อ 5 ของน้ำสะอาด หากถูกเยื่อบุผิวในช่องปากหรือจมูก ให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที

สรุป:

           ด้วยคุณสมบัติของโซดาไฟที่หลากหลาย สามารถใช้แก้ปัญหาในครัวเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฮียบฮกออนไลน์จึงยกให้ “โซดาไฟ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรมีติดบ้าน

 

ที่เฮียบฮกออนไลน์ เรามี “โซดาไฟ” ที่เป็นเครื่องมือช่างพื้นฐาน จำหน่าย ดังนี้

  1. โซดาไฟชนิดเกล็ด (Caustic Soda Flake) ยี่ห้อสามดาว จำหน่ายยกลัง (1 ลังมี 20 ถุง)
  2. โซดาไฟชนิดเกล็ด (Caustic Soda Flake) ยี่ห้อ Honey จำหน่ายยกลัง (1 ลังมี 20 ถุง)

_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป รวมถึงเครื่องมือทางการเกษตร 

สามารถสอบถามแอดมินร้านเฮียบฮกออนไลน์ได้เลยทันที

เฮียบฮกออนไลน์ยินดีตอบคำถามและให้คำปรึกษาเรื่องเครื่องมือช่าง

โทรศัพท์: 0956549462 และ 0626463545

Facebook: Heabhok

Line: @heabhok (พิมพ์@ด้วยน้า)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *