สิ่ว…เครื่องมือช่างอีกชนิดที่ต้องรู้จัก!

สิ่ว

            “สิ่ว” คือเครื่องมือช่างพื้นฐานอีกชนิดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างรวมถึงเครื่องมือทางการเกษตร สิ่วถูกนำมาใช้อย่างยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเครื่องมือช่างอีกชนิดที่คนส่วนมากอาจยังไม่ทราบถึงการใช้งานและประโยชน์ของสิ่วหากซื้อไว้ติดบ้าน รวมถึงผู้ที่ชื่นชอบงาน D.I.Y อย่างไรก็ดี สิ่วมีหลายประเภทและรูปทรง จึงควรทำความรู้จักสิ่วให้มากขึ้น

             เฮียบฮกออนไลน์จะพาไปทำความรู้จัก “สิ่ว” เครื่องมือช่างอีกชนิดที่มีประโยชน์มากมาย สามารถหาซื้อติดบ้านไว้ใช้กับงานในครัวเรือนได้ ดังนั้น ควรมีความรู้เบื้องต้นก่อนเลือกซื้อสิ่วให้ตรงกับความต้องการและการใช้งาน  

สิ่วคืออะไร มีกี่ประเภท และใช้ทำงานอะไรได้บ้าง

            หลายคนอาจไม่เชื่อว่าเบื้องหลังความสวยงามตระการตาและประณีตของประติมากรรมหินอ่อน อนุสาวรีย์ทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ตึกสูงเสียดฟ้าและงานแกะสลัก ต่างใช้ “สิ่ว” เป็นเครื่องมือสำคัญในการรังสรรค์ความงดงามเหล่านั้น

สิ่ว
สิ่ว…คืออะไร (What Are Chisels?)

            “สิ่ว” (Chisels) คือ เครื่องมือช่างที่ใช้แกะสลักวัสดุด้วยการใช้ค้อน (Hammer) ทุบหรือตอกลงไปที่หัวสิ่วหรืออาจใช้เครื่องมือสำหรับตอกสิ่วโดยเฉพาะ (Mallet) และยังสามารถนำไปใช้ตัด (Cutting) ใช้ถาก (Chipping) หรือขึ้นรูป (Shaping) วัสดุไม้ หิน และโลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งนี้ สิ่วยังสามารถเจาะวัสดุงานได้เช่นกัน

           สิ่วจะประกอบด้วยใบมีดที่แหลมคม และยังมีที่จับที่ทำจากโลหะ ไม้ หรือพลาสติก นิยมใช้สิ่วในงานแกะสลัก (Sculpture) งานศิลปะ (Art) งานอิฐ (Mansory) รวมไปถึงงานก่อสร้าง (Construction)

        แม้ว่าสิ่วที่ขายตามท้องตลาดทั่วไปจะมีหลายประเภทและหลายหน้าตา แต่โดยทั่วไปสิ่วมีโครงสร้าง 4 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนหัว (Head) ด้ามจับ (Handle) ลำตัว (Body) และส่วนคมมีด (Cutting Edge)

ประเภทของสิ่ว (Types of Chisels)

          เนื่องจากสิ่วมีหลายรูปทรงและขนาด จึงมีให้เลือกใช้งานมากมาย ทั้งนี้การเลือกใช้สิ่วจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมแบ่งประเภทของสิ่วตามลักษณะงานหรือวัสดุชิ้นงาน โดยทั่วไปสามารถแบ่งสิ่วออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สิ่วใช้งานกับไม้ สิ่วใช้งานกับโลหะ และสิ่วใช้งานกับหิน หรือจะแบ่งตามประเภทของสิ่วที่ใช้ค้อนและสิ่วที่ไม่ใช้ค้อนในการทำงาน ดังนี้

สิ่ว
สิ่วที่ต้องกับใช้ค้อน (Hammered Chisels)

            คือ สิ่วที่มีใบมีดหนาทนทาน สามารถรองรับแรงกระแทกจากการตอกหรือทุบที่หัวสิ่วด้วยค้อน (Hammer) หรือเครื่องมือสำหรับตอกสิ่วโดยเฉพาะ (Mallet) ที่หัวตรงด้ามจับของสิ่วประเภทนี้จะมีลักษณะแบน ออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานกับค้อนได้ สิ่วที่ต้องใช้กับค้อนและนิยมใช้กันมาก ได้แก่

  1. สิ่วลบเหลี่ยม (Bevel-Edged Chisel) คือ สิ่วที่มีความแข็งแรง มีลักษณะไม่สั้นหรือไม่ยาว ด้านข้างของใบมีดมีความลาดเอียง (Beveled) และปลายใบมีดตรง (Straight Edge) ซึ่งลักษณะดังกล่าวส่งผลให้สิ่วประเภทนี้สามารถเข้าถึงบริเวณที่เป็นรอยต่อหรือเชื่อมชิ้นงาน รวมถึงบริเวณมุมต่าง ๆ ของชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สิ่วงานไม้ (Bench Chisel) เป็นสิ่วที่มีขนาดสั้นกว่าสิ่วลบเหลี่ยมและมีความแข็งแรง เหมาะกับงานถาง งานตัดแต่ง และงานเข้าไม้เฟอร์นิเจอร์  สิ่ว
  3. สิ่วใบหนา (Firmer Chisel) ทำจากวัสดุแข็ง เช่น เหล็กกล้า (Steel) สำหรับใช้ในงานหนัก (Heavy-Duty Work) สิ่วใบหนาเป็นหนึ่งในสิ่วที่มีความเก่าแก่มากที่สุด มีใบมีดสี่เหลี่ยมแบบตัดขวางและลาดเอียง 20 องศา เหมาะกับชิ้นงานที่เป็นมุมแหลมคม 90 องศา ด้ามจับของสิ่วใบหนาอาจทำจากไม้เนื้อแข็งหรือพลาสติกแข็งที่ทนต่อค้อนหรือเครื่องมือสำหรับตอกสิ่วโดยเฉพาะ
  4. สิ่วเจาะ (Mortise Chisel) เป็นสิ่วที่ทำหน้าที่เจาะรูข้อต่อชนิดสวมเดือย (Mortise Joints) ใบมีดหนากว่าความกว้างของตัวใบมีด และขนาดของใบมีดส่วนใกล้ด้ามจับค่อนข้างใหญ่เพื่อป้องกันไม่ให้ใบมีดบิดงอเมื่อสิ่วถูกตอกหรือทุบด้วยค้อน ที่จับของสิ่วเจาะมีลักษณะเป็นห่วง (Hoops) ที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง มีห่วงครอบหรือห่วงเหล็กกล้าที่ทนต่อแรงทุบหรือตอกด้วยค้อน หัวของสิ่วประเภทนี้จะตัดที่มุมระหว่าง 30 ถึง 40 องศา มีอายุการใช้งานยาวนาน และทนต่อแรงทุบหรือตอกด้วยค้อน เหมาะกับงานตัดข้อต่อส่วนเกินหรือไสเศษไม้ทิ้ง
  5. สิ่วเหล็กสกัด (Bolster Chisel) คือ สิ่วตัดอิฐ โลหะ หรือหินเป็นแนวตรง ด้ามจับแบน ปลายใบมีดลาดเอียงและแข็งแรง ซึ่งสามารถเจาะทะลุวัสดุแข็งด้วยค้อนหรือเครื่องมือสำหรับตอกสิ่วโดยเฉพาะ (Mallet)
  6. สิ่วด้ามสั้น (Butt Chisel) เป็นสิ่วที่มีใบมีดสั้นเป็นเอกลักษณ์ เหมาะกับงานติดตั้งบานพับของวัสดุงานไม้ และยังเหมาะกับบริเวณที่เข้าถึงยากลำบากหรือชิ้นงานที่มีพื้นที่แคบ
  7. สิ่วสกัดคอนกรีต (Concrete Chisel) คือสิ่วที่สกัดพื้นคอนกรีต (Concrete Floor) ทางเท้า (Sidewalk) และแผ่นปูทางเท้า (Paving Slab)สิ่วสกัด
  8. สิ่วเย็น (Cold Chisel) ทำหน้าที่เจาะและขึ้นรูปวัสดุแข็ง เช่น โลหะ (Cold Metal) หรือวัสดุที่มีความหนาเป็นพิเศษ และเครื่องมือช่างอื่น ๆ เช่น เลื่อยตัดโลหะ (Hacksaw) กรรไกร (Shears) และกรรไกรตัดโลหะ (Tin Snips) ไม่สามารถทำงานได้ คำว่า “เย็น” หรือ “Cold” หมายถึง โลหะที่ไม่ผ่านความร้อนก่อนการใช้งาน โดยทั่วไปสิ่วเย็นจะผลิตจากเหล็กกล้าคาร์บอนเครื่องมือ (Carbon Tool Steels) ทำให้สามารถเจาะทะลุผ่านโลหะและอิฐ สิ่วเย็นยังมีอีหลายชนิด เช่น สิ่วเย็นแบน (Flat Cold Chisel) เหล็กสกัดปากจิ้งจก (Cape-Cold Chisel) สิ่วปากเหลี่ยมรูปเพชร (Diamond-Pointed Chisel) และเหล็กสกัดปากมน (Roun-Nose Chisel)
สิ่วที่ไม่ใช้ค้อนทำงาน (Non-Hammered Chisels) ที่ใช้กันมากที่สุด มีดังนี้
  1. สิ่วปากบาง (Paring Chisel) ใบมีดของสิ่วประเภทนี้จะมีความบางและเบา และคมมีดที่พื้นเอียงทำมุม 15 องศา ใบมีดของสิ่วปากบางจะยาวกว่าใบมีดของสิ่วใบหนา และที่จับแตกต่างกัน เหมาะสำหรับงานเบาหรือไม่หนัก (Light Work) จึงไม่เหมาะหากจะนำค้อนมาใช้กับสิ่วประเภทนี้
  2. สิ่วประกบ (Dovetail Chisel) คือ สิ่วที่สามารถเจาะเดือยและประสานข้อต่อเข้าด้วยกัน มีใบมีดยาว ส่วนปลายของคมมีดลาดเอียง 20 – 30 องศา เนื่องจากเป็นสิ่วที่มีความยาวเป็นพิเศษจึงเหมาะกับการทำความสะอาดและลับคมข้อต่อ
  3. สิ่วด้ามเบสบอส (Slick Chisel) สิ่วประเภทนี้ทำงานเหมือนกับสิ่วปากบาง แต่จะแตกต่างจากสิ่วปากบางตรงที่มีใบมีดที่กว้างและตรงกว่า ด้ามจับมีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์คล้ายกับไม้เบสบอล ทำให้จับสบายมือเมื่อเฉือนชิ้นส่วนของไม้ออกจากชิ้นงาน
  4. สิ่วไฟฟ้า (Power Chisel) เป็นสิ่วที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงานและทำหน้าที่แทนค้อน ส่งผลให้ชิ้นงานเสร็จเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากกว่าสิ่วที่ใช้มือทั่วไป
  5. สิ่วร้อน (Hot Chisel) คือ สิ่วอีกชนิดที่ไม่ใช้ค้อนในการทำงาน จะใช้สิ่วร้อนกับโลหะอ่อนตัวด้วยความร้อนจากเตาหลอมหรือหัวเชื่อมแก๊ส (Softened by heat from a forge or torch) สิ่วร้อนนิยมใช้กับงานของช่างตีเหล็ก

ความเป็นมาและวิวัฒนาการของสิ่วจากอดีตจนถึงปัจจุบัน (History of Chisels)

            เชื่อกันว่า “Chisel” หรือ “สิ่ว” วิวัฒนาการมาจากภาษาละติน “seco” ที่แปลว่า “I cut” หรือ ฉันเป็นคนตัด นอกจากนี้ บางคนยังเชื่อว่า Chisel มาจากภาษาฝรั่งเศส “Ciseau” สิ่วมีมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ หรือยุคหิน (Stone Age) ซึ่งในยุคดังกล่าวยังคงเป็นเครื่องมือที่มีลักษณะคล้ายสิ่วเท่านั้น (Chisel-Like Tools) สิ่วถูกคิดค้นและสร้างขึ้นในยุคสัมฤทธิ์ (Bronze Age) และช่วงแรกของยุคเหล็ก (Iron Age) และในช่วงยุคกลาง (Medieval Times) ช่างไม้จะใช้สิ่วที่มีลักษณะบานออกข้างและกว้าง หรือที่เรียกว่า “Former Chisel” ถูกนำมาใช้แกะสลักท่อนไม้แบบหยาบให้เป็นรูปทรงที่ต้องการ

          พอถึงศตวรรษที่ 16 หน้าตาของสิ่วเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สิ่วในช่วงนี้จะมีรูปทรงที่หนาและสั้นขึ้น ซึ่งมีชื่อว่า “Firmer Chisel” สามารถใช้ได้กับมือหรือทุบ/ตอกลงไปที่ด้ามจับด้วยเครื่องมือสำหรับตอกสิ่วโดยเฉพาะ (Mallet) และยังมีสิ่วชนิด “Lock-Mortise” และ “Bolting Iron” ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับงานเฉพาะ (Specialty Work)

            รูปร่างและหน้าตาของสิ่วในยุคสมัยใหม่หรือปัจจุบันเปลี่ยนไปจากยุคกลางเพียงเล็กน้อย ความแตกต่างจะอยู่ที่สิ่วที่ใช้กับงานไม้จะมีที่จับที่ทำจากไม้หรือพลาสติกทนแรงกระแทก (Impact-Resistant Plastic)

สิ่ว
การใช้งานสิ่ว (How to Use Chisels Properly and Efficiently)

            การใช้งานสิ่วให้เกิดประสิทธิภาพต่อตัวชิ้นงาน สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การกำหนดจุดใช้งานสิ่วบนวัสดุด้วยปากกาสี ให้ใช้มือซ้ายจับตัวสิ่ว และใช้มือขวาจับค้อนหรือเครื่องมือสำหรับตอกสิ่วโดยเฉพาะ (Mallet) ตอกหรือเคาะลงบนหัวสิ่ว

            หากต้องการตัดวัสดุแบบเฉียบคม (Clean Cut) ให้วางสิ่วที่มุม 90 องศาหรือให้สิ่วตั้งฉากกับผิวหน้าของชิ้นงาน หากต้องการทำร่องบนกำแพงอิฐ ให้วางสิ่วที่มุม 65 องศา หรือหากต้องการดึงหมุดออกจากหิน ให้ถือสิ่วที่มุมต่ำกว่า 45 องศา

สิ่วสามารถใช้งานกับวัสดุใดได้บ้าง (What Materials Can Chisels Work With?)

            คำตอบ คือ ไม่ว่าจะเป็นสิ่วที่ใช้หรือไม่ใช้ค้อนในการทำงานก็ตาม (Hammering or Not) สิ่วสามารถใช้งานได้กับวัสดุ 3 ชนิด ประกอบด้วย ไม้ โลหะ และหิน

  1. วัสดุไม้ (Wood): หรืองานที่เกี่ยวข้องกับเฟอร์นิเจอร์หรือช่างไม้ สิ่วที่เหมาะกับการใช้งาน ได้แก่ สิ่วลบเหลี่ยม (bevel-edged chisel) สิ่วด้ามสั้น (butt chisel) สิ่วเข้าโครง (framing chisel) สิ่วเจาะ (mortise chisel) สิ่วเจาะเดือยหางเหยี่ยว (dovetail chisel) สิ่วเก็บมุม (corner chisel) สิ่วหน้าเอียง (skew chisel) สิ่วปากบาง (paring chisel) สิ่วญี่ปุ่น (Japanese chisel) และสิ่วแกะสลัก (carving chisel)
  2. วัสดุโลหะ (Metal): สิ่วที่สามารถใช้งานกับโลหะ คือ สิ่วเย็น (Cold Chisel) และสิ่วร้อน (Hot Chisel) จะเป็นสิ่ว 2 ประเภทหลักที่สามารถเจาะและขึ้นรูปชิ้นงานโลหะได้
  3. วัสดุหิน (Stone): สิ่วที่เหมาะสำหรับงานหิน ประกอบด้วย Standard and Toothed Stone Chisels สิ่วก่ออิฐ (Mansory Chisel) Spoon chisel และสิ่วเหล็กสกัดอิฐ (Brick Bolster) ซึ่งสิ่วเหล่านี้ คือ สิ่วที่สามารถตัด ขึ้นรูป และถูวัสดุหิน (Stones) และอิฐ (Bricks)

การใช้งานสิ่วให้ปลอดภัย (Chisel Safety Precautions)

             สาเหตุหลักของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากสิ่วมาจากการใช้งานสิ่วที่ไม่เหมาะกับงานและสิ่วสภาพไม่สมบูรณ์ การใช้งานสิ่วให้ปลอดภัย มีดังนี้

1.สิ่วต้องผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.ต้องใช้สิ่วให้ตรงกับวัตถุประสงค์เฉพาะของงาน

3.ให้ตรวจสิ่วก่อนการใช้งานทุกครั้ง

4.หัวสิ่วต้องไม่ลื่น

5คมมีดของสิ่วต้องคม

6.ขนาดของสิ่วต้องเหมาะกับตัวงาน

7.หากสิ่วเย็นงอหรือกระเด็นขณะใช้งานกับวัสดุโลหะ หมายความว่าสิ่วมีขนาดไม่ใหญ่หรือไม่แข็งแรงพอ

8.สวมแว่นตาใสและถุงมือขณะใช้งานสิ่วเพื่อความปลอดภัย

9.เปลี่ยนสิ่วใหม่หรือซ่อมสิ่วเมื่อตรวจพบความเสียหาย หากฝืนใช้งานสิ่วที่ไม่พร้อมใช้งาน อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ทั้งแก่ตัวงานและผู้ใช้งาน

10.หากที่จับของสิ่วหักหรือร้าว ให้เปลี่ยนสิ่วอันใหม่

สรุป:

           การเลือกซื้อและใช้งานสิ่วให้ตรงกับชิ้นงานมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเภทของสิ่วส่งผลต่อความสมบูรณ์แบบของตัวชิ้นงาน หากไม่แน่ใจว่าควรใช้สิ่วประเภทไหน ให้สอบถามผู้ขายเกี่ยวกับ “สิ่ว”

_ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _ _

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป รวมถึงเครื่องมือทางการเกษตร 

สามารถสอบถามแอดมินร้านเฮียบฮกออนไลน์ได้เลยทันที

เฮียบฮกออนไลน์ยินดีตอบคำถามและให้คำปรึกษาเรื่องเครื่องมือช่าง

โทรศัพท์: 0956549462 และ 0626463545

Facebook: Heabhok

Line: @heabhok (พิมพ์@ด้วยน้า)

เครื่องมือช่างและอุปกรณ์

สิ่วด้ามไฟเบอร์

90 ฿120 ฿

เครื่องมือช่างและอุปกรณ์

สิ่วดี ยี่ห้อ ปลาหมึกเบ็ด

115 ฿169 ฿

เครื่องมือช่างและอุปกรณ์

ค้อนไฟเบอร์

505 ฿895 ฿

เครื่องมือช่างและอุปกรณ์

ค้อนปอนด์

65 ฿325 ฿

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *